วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ในหลวงกับเทคโนโลยี




พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้นได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส.เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง ๒ เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานีวิทยุ อ.ส.ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบFMขึ้นอีกระบบหนึ่งในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นอาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน
นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานีตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุดและในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง ๑๐ กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา ๑๐.๓๐-๑๒.๐๐ และ ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ หยุดทุกวันจันทร์
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/kamana_3.htm

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4 (งานที่ 2)

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4 (งานที่ 2)
1. คำว่า Commiunis แปลว่า คล้ายคลึงกัน หรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง เป็นพฤติกรรมสำคัญที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์เดียวกัน
3. Sender Message Channel Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกัน
ตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง
7. Content หมายถึง เนื้อหาสาระ ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง
ตัวอย่าง เช่น การศึกษาที่เป็นประโยชน์กับการเรียน การสอน" ซึ่งได้แก่ เนื้อหาวิชาที่สอน บทเรียนที่น่าสนใจทุกระดับ (ประถม มัธยม อุดมศึกษา) วิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ และเทคนิควิธีการสอนที่ทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย
8. Treatment หมายถึง วิธีการ รูปแบบ ที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. Code หมายถึง รหัส หรือสัญลักษณ์ ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ
ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยาท่าทาง
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฝนสาด ฯลฯ
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ฯลฯ
12. Encode หมายถึง การเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง การแก้รหัส
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
การสื่อความหมาย เป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ส่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
การสื่อความหมายอาจล้มเหลวได้เนื่องจากอุปสรรคด้านต่าง ๆคือ
1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส (Encode) หรือแปลความต้องการของตนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ ได้
2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง การเลือกใช้สื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อความหมายลดลงได้
3. อุปสรรค์จากสิ่งรบกวน (Noise) มี 2 ประเภท คือ
ก. สิ่งรบกวนจากภายนอก เช่นเสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฯลฯ
ข. สิ่งรกวนจากภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ฯลฯ

4. ผู้รับสารขาดความสามารถในการถอดรหัสสสาร อันเนื่องมาจากสาเหตุต่อไปนี้
ก. อุปสรรค์ด้านภาษา (Verbalism)
ข. ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
ค. ขีดจำกัดของประสามสัมผัส (Limited Perception)
ง. สภาพร่างกายไม่พร้อม (Physical Discomfort)
จ. การไม่ยอมรับ
ฉ. จินตภาพ (Image) ไม่ตรงกันกับผู้ส่งสาร
5. อุปสรรค์ด้านสาร ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่จะช่วยเสริมให้การสื่อความหมาย ประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น เช่น
ก. สารที่มีความเด่น แปลกใหม่
ข. ไม่สร้างความลำบากใจให้กับผู้รับ
ค. ให้แรงจูงใจ เช่น การให้รางวัล
ง. เป็นแกนร่วมประสบการณ์ของทั้งผู้ส่งและผู้รับ
จ. ตรงกับความต้องการของผู้รับ

คำถามท้ายบทที่ 1

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาหมายถึง การนำแนวคิด วิธีการ เทคนิค กระบวนการ ตลอดจนผลที่ได้จากวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
1) เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
2) เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
3) เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
4) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร(Communication Technology)
5) เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)
6) เทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Engineering Technology)
7) เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)
8) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)

3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตาม ทัศทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
- ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ(Media or Physical Science concept)
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ เห็นว่า การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
- ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral science concept)
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มารเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอน หรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการศึกษา 4 ขั้น คือ
1) การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัด และสังเกตเห็นได้
2) ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม และอื่นๆ เพื่อจัดหลักสูตร และโครงการสอนให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนแต่ละคน
3) วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและ เนื้อหาระสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4) การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร
4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 2 ระดับ

1) บุคคลธรรมดาสามัญ ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็น การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม (ราชบัณฑิตยสถานสถาน,2529:108)
2) บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ ความหมายว่า การศึกษาเป็น ศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวม ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ (Good.1959:191)
3) บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ 3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของ ส่วนรวมก่อน การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนาเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง การปฏิรูปตามศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนากับการศึกษาจึงมักรวมแนวทาง กันเสมอ - พลาโต (Plato) กล่าวว่า “การศึกษา” คือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลง นิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ภิญโญ สาธร. 2522: 13)
3.2 ทัศนะเสรีนิยม การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมเอาเองในอนาคต - ศาสตราจารย์สาโรจ บัวศรี ให้ความหมายการศึกษาว่า คือ ความเจริญงอกงามทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ (สาโรจ บัวศรี. 2526 : 16)
- พุทธทาสภิกขุ อธิบายการศึกษาว่า คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์ และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย (พุทธทาสภิกขุ. 2516 : 7)
- พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน (วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 5)
5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ - เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู (Teacher, Aid) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง

2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ใน สถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทาง ไปรษณีย์
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษา ตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีผู้เรียนทั่วประเทศแต่ผู้เรียนอาจจะไม่เคยเห็นผู้สอนตัวจริง มีแต่ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ เทคโนโลยี ระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา ฯลฯ

6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด เทคนิควิธี กิจกรรม วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหา ในการทำงาน ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผลงานดีขึ้น หรือ เป็นที่พอใจมากขึ้น
7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
- ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
- ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
- ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)
8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมา อย่างน้อย 5 ข้อ
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจ และความต้องการของ แต่ละบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่ม เป็นต้น
9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
1. ศูนย์การเรียน ใช้ร่วมกับชุดการเรียนการสอน แบบเรียนสำเร็จรูป
2. การสอนแบบโปรแกรม
3. บทเรียนสำเร็จรูป
4. ชุดการเรียนการสอน
5. การเรียนการสอนระบบเปิด
10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ
11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทย 3 ข้อ
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย
12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย
3 ประการ

1. การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
2. เรียนปนเล่น
3. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. การสอนเป็นคณะ

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาหมายถึง การนำแนวคิด วิธีการ เทคนิค กระบวนการ ตลอดจนผลที่ได้จากวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
1) เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
2) เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
3) เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
4) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร(Communication Technology)
5) เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)
6) เทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Engineering Technology)
7) เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)
8) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตาม ทัศทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
- ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ(Media or Physical Science concept)
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ เห็นว่า การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
- ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral science concept)
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มารเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอน หรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการศึกษา 4 ขั้น คือ
1) การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัด และสังเกตเห็นได้
2) ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม และอื่นๆ เพื่อจัดหลักสูตร และโครงการสอนให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนแต่ละคน
3) วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและ เนื้อหาระสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4) การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร
4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 2 ระดับ
1) บุคคลธรรมดาสามัญ ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็น การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม (ราชบัณฑิตยสถานสถาน,2529:108)2)
2)บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ ความหมายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวม ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ (Good.1959:191)
3) บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของ ส่วนรวมก่อน การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนาเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง การปฏิรูปตามศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนากับการศึกษาจึงมักรวมแนวทางกันเสมอ- พลาโต (Plato) กล่าวว่า “การศึกษา” คือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ภิญโญ สาธร. 2522: 13)
3.2 ทัศนะเสรีนิยม การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมเอาเองในอนาคต
- ศาสตราจารย์สาโรจ บัวศรี ให้ความหมายการศึกษาว่า คือ ความเจริญงอกงามทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ (สาโรจ บัวศรี. 2526 : 16)- พุทธทาสภิกขุ อธิบายการศึกษาว่า คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์ และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย (พุทธทาสภิกขุ. 2516 : 7)
- พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน(วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 5)
5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ- เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ
1) ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู(Teacher, Aid) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
2) ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ใน สถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทางไปรษณีย์
3) ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีผู้เรียนทั่วประเทศแต่ผู้เรียนอาจจะไม่เคยเห็นผู้สอนตัวจริง มีแต่ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา ฯลฯ6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจนเทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนวัตกรรม หมายถึง แนวคิด เทคนิควิธี กิจกรรม วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการทำงาน ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผลงานดีขึ้น หรือ เป็นที่พอใจมากขึ้น 7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง- ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)- ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)- ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจ และความต้องการของแต่ละบุคคล3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่ม เป็นต้น9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด1. ศูนย์การเรียน ใช้ร่วมกับชุดการเรียนการสอน แบบเรียนสำเร็จรูป2. การสอนแบบโปรแกรม3. บทเรียนสำเร็จรูป4. ชุดการเรียนการสอน5. การเรียนการสอนระบบเปิด10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ1. การเพิ่มจำนวนประชากร2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทย 3 ข้อ1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย
3 ประการ1. การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น2. เรียนปนเล่น3. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน5. การสอนเป็นคณะ

วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานข้อ 11


บริการสนทนาออนไลน์


บริการสนทนาออนไลน์ หรือที่เรียกว่า Chat (IRC - Internet Relay Chat) หรือเรียกว่า Talk เป็นบริการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน โดยผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบ (ทั้งโดยการพิมพ์ และพูด) กับผู้อื่นๆ ในเครือข่ายได้ในเวลาเดียวกัน
ปัจจุบันบริการนี้ ได้นำมาประยุกต์ใช้กับการประชุมทางไกล (VDO Conference) โดยอาศัยอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น กระดานสนทนา, ไมโครโฟน, กล้องส่งภาพขนาดเล็กเป็นต้น

โปรแกรมที่นิยมใช้กันได้แก่ Pirch, ICQ, Microsoft NetMeeting , InternetPhone

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2550

งานข้อ 25

การสื่อสารแบบ Connectionless

นอกจากกฏ IP และ TCP ยังมีกฏ UDP (User Datagram Protocol) ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ Connectionless คือข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นชิ้นๆ ตามที่อยู่ปลายทาง แล้วผ่านตัวกลางไปยังปลายทาง อาจจะใช้เส้นทางคนละเส้นทางกันก็ได้ รวมทั้งข้อมูลแต่ละชิ้นอาจจะถึงก่อนหลังแตกต่างกันไปได้ด้วย ทำให้การเริ่มต้นส่งทำได้รวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาสร้าง Connection แต่ก็มีจุดอ่อนคือ ไม่สามารถรับประกันได้ว่า ข้อมูลถึงปลายทางอย่างถูกต้อง ตัวอย่างงานที่ใช้การสื่อสารแบบ UDP คือ การส่งสัญญาณเสียงดิจิทัล, Video
อ้างอิงจาก
http://www.nectec.or.th/courseware/internet/internet-tech/index.html

งานข้อ 24

การสื่อสารแบบ Connection Oriented

การสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำได้โดยใช้กฏข้อบังคับที่เรียกว่า IP (Internet Protocol) ซึ่งทำให้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ถูกเรียกว่า เครือข่าย IP นอกจากกฎ IP ใน OSI Model ของเครือข่าย ยังมีกฏ TCP (Transmission Control Protocol) ทั้งนี้ TCP จะเป็นการสื่อสารแบบ Connection Oriented คือมีลักษณะเหมือนกันส่งข้อมูลเสียงทางโทรศัพท์ ต้องมีการสร้าง Connection ก่อน (คล้ายหมุนเบอร์ปลายทาง) จึงจะส่งข้อมูล และเมื่อส่งข้อมูลเสร็จสิ้น ก็จะทำการยุติ Connection (วงหูโทรศัพท์)

ทั้งนี้เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลทีละชิ้นไปเรื่อยๆ ผู้รับก็รับข้อมูลนั้นๆ ตามลำดับก่อนหลัง ทำให้เสียเวลาในจุดเริ่มต้น แต่การส่งมีความถูกต้อง และรับรองว่าปลายทางได้รับข้อมูล ลักษณะงานที่ติดต่อแบบ TCP ก็คือ e-mail, WWW, FTP

งานข้อ 23

Frame Relay

Frame Relay เป็นบริการทางเครือข่ายชนิดหนึ่ง สำหรับเชื่อมต่อ LAN หรือเครือข่ายมากกว่า 2 เครือข่ายขึ้นไป ที่อยู่ห่างกัน โดยพัฒนามาจากเทคโนโลยี X.25 เป็นเครือข่ายระบบดิจิทัลที่มีอัตราความผิดพลาดของข้อมูลต่ำ มีระบบตรวจเช็คความถูกต้องของข้อมูลที่ปลายทาง ส่งข้อมูลได้เร็ว ประหยัดเวลา ลักษณะการส่งข้อมูลดีกว่า Leased Line เนื่องจากเป็นแบบ packet switching คือไม่มีการจองวงจรสื่อสารไว้ส่วนตัว ข้อมูลแต่ละคนจะถูกแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ เรียกว่า packet และส่งเข้าไปในเครือข่าย เพื่อส่งต่อไปยังปลายทาง ทำให้เครือข่ายเป็นเครือข่ายรวม ใช้เครือข่ายได้อย่างคุ้มค่า

งานข้อ 22

Leased Line



วงจรเช่า หรือคู่สายเช่า (Leased Line) เป็นวงจรเหมือนวงจรโทรศัพท์ ที่มีการกำหนดต้นทาง และปลายทางที่แน่นอน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องหมุนเบอร์ของปลายทางเมื่อต้องการติดต่อ โดยอาจจะเป็นการติดต่อด้วย Fiber Optics หรือดาวเทียมก็ได้ ปัจจุบันนำมาใช้เป็นสัญญาณเชื่อมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วสูง เนื่องจากเป็นอิสระจากคนอื่น ด้วยความเร็วตั้งแต่ 9600, 64, 128 kbps, 34 Mbps ระบุต้นทางและปลายทางชัดแบบ Leased Line เรียกว่าการส่งข้อมูลแบบ Circuit Switching ซึ่งมีข้อเสียคือ หากไม่มีการใช้สัญญาณในเวลาใดๆ ก็จะเสียคุณค่า และประสิทธิภาพของวงจรสื่อสายโดยรวมไปแบบสูญเปล่า การเลือกใช้ Leased Line ต้องพิจารณาจากผู้ให้บริการ, ความเร็ว และชนิดของสื่อ

งานข้อ 21

Ethernet

Ethernet เป็นเทคโนโลยีสำหรับเครือข่ายแบบแลน (LAN) ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน คิดค้นโดยบริษัท Xerox ตามมาตรฐาน IEEE 802.3 การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10Base-T ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub

ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ

ปัจจุบัน Ethernet ได้พัฒนาไปมาก เป็น Fast Ethernet ที่ส่งข้อมูลได้ 100 Mbps และ Gigabit Ethernet

งานข้อ 20

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

เทคโนโลยีที่ทันสมัย แม้จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากเพียงใดก็ตาม สิ่งที่ต้องยอมรับความจริงก็คือ เทคโนโลยีทุกอย่างมีจุดเด่น ข้อด้อยของตนทั้งสิ้น ทั้งที่มาจากตัวเทคโนโลยีเอง และมาจากปัญหาอื่นๆ เช่น บุคคลที่มีจุดประสงค์ร้าย ในโลก cyberspace อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นปัญหาหลักที่นับว่ายิ่งมีความรุนแรง เพิ่มมากขึ้น ประมาณกันว่ามีถึง 230% ในช่วงปี 2002 และแหล่งที่เป็นจุดโจมตีมากที่สุดก็คือ อินเทอร์เน็ต นับว่ารุนแรงกว่าปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์เสียด้วยซ้ำ หน่วยงานทุกหน่วยงานที่นำไอทีมาใช้งาน จึงต้องตระหนักในปัญหานี้เป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องลงทุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัย ระบบซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม และประเมินผลที่ต้องกระทำอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง
แต่ไม่ว่าจะมีการป้องกันดีเพียงใด ปัญหาการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ก็มีอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้ระบบการโจมตีที่พบบ่อยๆ ได้แก่

* Hacker & Cracker อาชญากรที่ได้รับการยอมรับว่ามีผลกระทบต่อสังคมไอทีเป็นอย่างยิ่ง
* บุลากรในองค์กร หน่วยงานคุณไล่พนักงานออกจากงาน, สร้างความไม่พึงพอใจให้กับพนักงาน นี่แหล่ะปัญหาของอาชญกรรมได้เช่นกัน
* Buffer overflow เป็นรูปแบบการโจมตีที่ง่ายที่สุด แต่ทำอันตรายให้กับระบบได้มากที่สุด โดยอาชญากรจะอาศัยช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ และขีดจำกัดของทรัพยากรระบบมาใช้ในการจู่โจม การส่งคำสั่งให้เครื่องแม่ข่ายเป็นปริมาณมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งส่งผลให้เครื่องไม่สามารถรันงานได้ตามปกติ หน่วยความจำไม่เพียงพอ จนกระทั่งเกิดการแฮงค์ของระบบ เช่นการสร้างฟอร์มรับส่งเมล์ที่ไม่ได้ป้องกัน ผู้ไม่ประสงค์อาจจะใช้ฟอร์มนั้นในการส่งข้อมูลกระหน่ำระบบได้
* Backdoors นักพัฒนาเกือบทุกราย มักสร้างระบบ Backdoors เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงาน ซึ่งหากอาชญากรรู้เท่าทัน ก็สามารถใช้ประโยชน์จาก Backdoors นั้นได้เช่นกัน
* CGI Script ภาษาคอมพิวเตอร์ที่นิยมมากในการพัฒนาเว็บเซอร์วิส มักเป็นช่องโหว่รุนแรงอีกทางหนึ่งได้เช่นกัน
* Hidden HTML การสร้างฟอร์มด้วยภาษา HTML และสร้างฟิลด์เก็บรหัสแบบ Hidden ย่อมเป็นช่องทางที่อำนวยความสะดวกให้กับอาชญากรได้เป็นอย่างดี โดยการเปิดดูรหัสคำสั่ง (Source Code) ก็สามารถตรวจสอบและนำมาใช้งานได้ทันที
* Failing to Update การประกาศจุดอ่อนของซอฟต์แวร์ เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับปรุงเป็นทางหนึ่งที่อาชญากร นำไปจู่โจมระบบที่ใช้ซอฟต์แวร์นั้นๆ ได้เช่นกัน เพราะกว่าที่เจ้าของเว็บไซต์ หรือระบบ จะทำการปรับปรุง (Updated) ซอตฟ์แวร์ที่มีช่องโหว่นั้น ก็สายเกินไปเสียแล้ว
* Illegal Browsing ธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ย่อมหนีไม่พ้นการส่งค่าผ่านทางบราวเซอร์ แม้กระทั่งรหัสผ่านต่างๆ ซึ่งบราวเซอร์บางรุ่น หรือรุ่นเก่าๆ ย่อมไม่มีความสามารถในการเข้ารหัส หรือป้องกันการเรียกดูข้อมูล นี่ก็เป็นอีกจุดอ่อนของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นกัน
* Malicious scripts ก็เขียนโปรแกรมไว้ในเว็บไซต์ แล้วผู้ใช้เรียกเว็บไซต์ดูบนเครื่องของตน มั่นใจหรือว่าไม่เจอปัญหา อาชญากรอาจจะเขียนโปรแกรมแผงในเอกสารเว็บ เมื่อถูกเรียก โปรแกรมนั่นจะถูกดึงไปประมวลผลฝั่งไคลน์เอ็นต์ และทำงานตามที่กำหนดไว้อย่างง่ายดาย โดยเราเองไม่รู้ว่าเรานั่นแหล่ะเป็นผู้สั่งรันโปรแกรมนั้นด้วยตนเอง น่ากลัวเสียจริงๆๆ
* Poison cookies ขนมหวานอิเล็กทรอนิกส์ ที่เก็บข้อมูลต่างๆ ตามแต่จะกำหนด จะถูกเรียกทำงานทันทีเมื่อมีการเรียกดูเว็บไซต์ที่บรรจุคุกกี้ชิ้นนี้ และไม่ยากอีกเช่นกันที่จะเขียนโปรแกรมแฝงอีกชิ้น ให้ส่งคุกกี้ที่บันทึกข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้ส่งกลับไปยังอาชญากร ไวรัสคอมพิวเตอร์ ภัยร้ายสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไอทีตั้งแต่เริ่มแรก และดำรงอยู่อย่างอมตะตลอดกาล ในปี 2001 พบว่าไวรัส Nimda ได้สร้างความเสียหายได้สูงสุด เป็นมูลค่าถึง 25,400 ล้าบบาท ในทั่วโลก ตามด้วย Code Red, Sircam, LoveBug, Melissa ตามลำดับที่ไม่หย่อนกว่ากัน เห็นไหมครับว่าปัญหาของโลกไอที มีหลากหลายมาก การทำนายผลกระทบที่มีข้อมูลอ้างอิงอย่างพอเพียง การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ การวางแผน ติดตาม ประเมินผลอย่างสม่ำเสมอ คงจะช่วยให้รอดพ้นปัญหานี้ได้บ้างน่ะครับ

งานข้อ 19

การป้องกันข้อมูลไม่พึงประสงค์บนเว็บ

เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตเป็นระบบเปิดที่อนุญาตให้ผู้ใดก็ได้ที่สนใจ สามารถนำเสนอได้อย่างอิสระ ทำให้ข้อมูลบนเครือข่าย มีหลากหลาย ทั้งคุณ และโทษ การกลั่นกรองเนื้อหาที่เหมาะสมให้กับเยาวชน เป็นเรื่องที่กระทำได้ค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตามก็พอจะมีเทคนิคหรือวิธีการกลั่นกรองเนื้อหา ได้ดังนี้
* การกลั่นกรองที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
* การกลั่นกรองในส่วนของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
* การกลั่นกรองที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้
* การกลั่นกรองที่เครื่องของผู้ใช้มีจุดเด่นที่กระทำได้ง่าย รวดเร็ว แต่อาจจะกลั่นกลองได้ไม่ครบทั้งหมด และข้อมูลที่กลั่นกรองอาจจะครอบคลุมถึงเนื้อหาที่มีสาระประโยชน์ได้ด้วย เช่นต้องการป้องกันเว็บที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Sex ก็อาจจะล็อกเว็บไซต์การแพทย์ที่ให้คำแนะนำด้านเพศศึกษาไปด้วยก็ได้
ธีการนี้กระทำได้โดย
วิธีที่ 1. กำหนดค่า Security และระดับของเนื้อหา ผ่านเบราเซอร์ IE ด้วยคำสั่ง Tools, Internet Options แล้วกำหนดค่าจากบัตรรายการ Security หรือ Content วิ
ธีที่ 2. ติดตั้งโปรแกรมที่ทำหน้าที่สกัดกั้นการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ไม่พึงประสงค์ โดยผู้ใช้สามารถกำหนดรายการเว็บไซต์ได้ตามที่ต้องการ โดยโปรแกรมที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้แก่ · Net Nanny · Surfwatch · Cybersitter · Cyberpatrol การกลั่นกรองที่ระบบของผู้ให้บริการ (ISP) เป็นระบบที่เรียกว่า Proxy โดยจะทำหน้าที่ตรวจจับข้อมูลเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์ ตามรายการที่ระบุไว้ ไม่ให้ผ่านเข้าไปยังผู้ใช้ ซึ่งมีผลต่อลูกค้าของผู้ให้บริการทุกราย ซึ่งถือว่าเป็นการคลุมระบบทั้งหมด แต่ก็มีข้อเสียคือ ระบบจะทำงานหนักมาก เนื่องจากต้องคอยตรวจสอบการเรียกดูเว็บไซต์จากผู้ใช้ทุกราย และเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ใช้บริการด้วย

งานข้อ 18

ระบบอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย

โครงสร้างของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (พ.ย. 2545) ปัจจุบันประกอบด้วย ISP 18 ราย และผู้ให้บริการแบบไม่หวังผลกำไรอีก 4 ราย แต่มีรูปแบบช่องรับ/ส่งสัญญาณที่แตกต่างกันออกไป << คลิกเพื่อดูผังโครงสร้าง >> ทั้งนี้ ISP ทุกราย (ทั้งเชิงพาณิชย์และไม่หวังผลกำไร) จะต้องเช่าช่องสัญญาณจากจากผู้ให้บริการวงจรสื่อสารอีกต่อหนึ่ง โดยแบ่งเป็น
* ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อภายในประเทศ - ISP สามารถเลือกเช่าช่องสัญญาณได้โดยเสรี ทั้งจาก ทศท., กสท., TelecomAsia, DataNet โดยวงจรของทุกราย จะเชื่อมต่อกับจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ เพื่อความรวดเร็วในการแลกเปลี่ยนข้อมูล นั่นคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างคู่สื่อสารในประเทศไทย สามารถทำได้สะดวก ไม่ว่าคู่สื่อสารนั้น จะใช้บริการของ ISP รายใดก็ตาม ทั้งนี้จุดแลกเปลี่ยนในปัจจุบันได้แก่ IIR (Internet Information Research) ของเนคเทคและ NIX (National Internet Exchange) ของ กสท.
* ช่องสัญญาณการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ - ISP จะต้องผ่าน กสท. เท่านั้น เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันยังไม่ให้อนุญาตให้ทำการส่งข้อมูลเข้า-ออกของไทย โดยปราศจากการควบคุมของ กสท. โดย ISP จะเชื่อมสัญญาณเข้ากับ IIG (International Internet Gateway)

งานข้อ 17

หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย

ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
* การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%) รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
* ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง 17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
* ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย, EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
* THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย (.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
* NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
* ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอกชนอื่นๆ

งานข้อ 16

Cybersquatter

Cybersquatter หมายถึง บุคคลที่คิดหากำไรทางลัด โดยการนำเอาเครื่องหมายการค้า หรือชื่อทางการค้าที่มีชื่อเสียง มาจดเป็นโดเมนเนม โดยเจ้าของไม่อนุญาต รวมถึงการจดไว้เพื่อขายต่อให้กับเจ้าของชื่อทางการค้า หรือเครื่องหมายการค้าที่

งานข้อ 15

บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

ANET
ASIA ACCESS
Asia Infonet
CS Internet
Cwn
Far East Internet
Idea Net
Ji-NET
Internet Thailand
Internet KSC
Data Line Thai
Samart Online
Siam Global Access
Pacific Internet (Thailand)
E-Z Net Company
Roynet Public Co., Ltd Cable & Wireless Services (Thailand) Limited
Loxley

งานข้อ 14

Emoticon

Emoticon เป็นสัญลักษณ์ที่คิดค้นเพื่อให้การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการ Chat กระทำได้ง่ายและสะดวก โดยสัญลักษณ์แต่ละชิ้น จะแทนการแสดงออกทางอารมย์ลักษณะต่างๆ และเป็นการเพิ่มลูกเล่นให้กับการสื่อสาร สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันได้
:-) ยิ้ม ;-) ยิ้มและขยิบตา :-( หน้านิ่วคิ้วขมวด :- ยิ้มแบบเจื่อนๆ :-> อยู่ในอารมย์ขันเล็กๆ >:-> อยู่ในอารมย์ไม่ชอบ >;-> ไม่ชอบเป็นอย่างมาก >:-C โกรธแล้วน่ะ :) ฝืนๆ ยิ้ม (-: สัญลักษณ์ของคนถนัดมือซ้าย -o กำลังหาว - ง่วงนอน :-/ งง <> ไม่มีข้อคิดเห็นใดๆ <> หัวเราะ :-x ห้ามพูด, ถูกปิดปาก :-P แลบลิ้น :-9 กำลังชำเลือง, หรือค้อนให้ C=:-) เป็นกุ๊กในครัว *<:-) เป็นนางฟ้า O:-) เป็นซานตาครอส :-@ ตระโกน :-O โอ้โฮ [:-) ฟังเพลง (สวมหูฟัง) :-* เปรี้ยวปาก :-)~ พ่นน้ำลาย :~) เป็นหวัด :'-) ร้องไห้ด้วยความสุข :-D หัวเราะใส่กัน 8-O โอ้มายก๊อด :---} พูดโกหก (จมูกยาว)

งานข้อ 13

แนวโน้มการใช้อินเทอร์เน็ต

เป็นที่แน่นอนแล้วว่าในอนาคต อินเทอร์เน็ตจะเข้ามามีส่วนร่วมกับชีวิตประจำวันของคนเรามากขึ้น และจะช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีรูปแบบใหม่ ดังนี้ การคุยโทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (Voice over IP) ซึ่งปัจจุบันองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย ก็นำมาใช้ผ่านหมายเลข 1234 ทั่วประเทศ (ต้นปี 2545)
* การคุยระยะไกลแบบมีภาพและเสียงของคู่สนทนา (Voice conference)
* การนำอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์กับเครือข่ายเคเบิ้ลทีวี (Web TV & Cable MODEM)
* การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตกับเครื่องใช้ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน (Internet Device)

งานข้อ 12

กระดานข่าว

กระดานข่าว หรือ Bulletin Board Sytem (BBS) เป็นบริการข่าวสารรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยการเผยแพร่ข้อมูลผ่านกระดานอิเล็กทรอนิกส์ ของเครือข่าย ตามหมวดหมู่ที่มีการกำหนดไว้ หรืออาจจะกำหนดเพิ่มเติมก็ได้ ที่เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup) เช่น กลุ่มผู้สนใจด้านศิลปะ, ด้านโปรแกรม เป็นต้น ปัจจุบันเป็นบริการหนึ่งที่นิยม และมีการปรับรูปแบบให้อยู่ในรูปของเอกสาร HTML ทำให้สามารถเรียกดู และใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

ความรู้ทั่วไป



บทที่ 6 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูล


ความหมายของการสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฏเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการองค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูลการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล(Sender)ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ใน รูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับ รับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ
3. โปรโตคอล (Protocal)โปรโตคอล คือ กฏระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น
4. ซอฟต์แวร์ (Software)การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับกำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s netware] UNIX Windows NT ฯลฯ5. ข่าวสาร (Message)เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้ค่อนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวีดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บ และใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ 6. ตัวกลาง(Medium)เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับ หรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สำหรับสื่อสารข้อมูล เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต้นทางเข้ากับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยใช้ตัวกลางหรือสื่อกลางสำหรับเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบ การต่อแบบสายตรงตามรูปนั้น อาจจะต่อตรงโดยใช้ช่องต่อแบบขนานของเครื่อง ทั้ง 2 เครื่อง เพื่อใช้สำหรับโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้ หรืออาจจะต่อโดยใช้อินเทอร์เฟสคาร์ดใส่ไว้ใน เครื่องสำหรับเป้นจุดต่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานเป็นการเชื่อมต่อ ระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ
การส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Definition)การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆจากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลาง ไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโอแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น
แบบของการส่งสัญญาณข้อมูลการส่งสัญญาณข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้ 1. การส่งสัญญาณทางเดียว (One-Way Transmission หรือ Simplex)การส่งสัญญาณแบบนี้ในเวลาเดียวกันจะส่งได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวส่งจะมีสัญญาณช่องทางก็ตาม ซึ่งมักจะเรียกการส่งสัญญาณทางเดียวนี้ว่า ซิมเพล็กซ์ ผู้ส่งสัญญาณจะส่งได้ทางเดียว โดยที่ผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบได้ เช่น การส่งวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์2. การส่งสัญญาณกึ่งทางคู่ (Half-Duplex หรือ Either-Way)การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณแทน ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ จึงเรียกการส่งสัญญาณแบบนี้ว่า ฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex หรือ HD) ได้แก่ วิทยุสนามที่ตำรวจใช้ เป็นต้น3. การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both way Transmission)การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กัน
มาตรฐานสากล(International Standards)เพื่อความเป็นระเบียบและความสะดวกของผู้ผลิตในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารแบบต่าง ๆ ขึ้นมา จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานสากล สำหรับระบบติดต่อสื่อสารข้อมูลขึ้น ซึ่งประกอบด้วยโปรโตคอล และสถาปัตยกรรมโดยมีการจัดตั้งองค์การสำหรับพัฒนา และควบคุมมาตรฐานหมายองค์กรดังต่อไปนี้1. ISO (The International Standards Organization)เป็นองค์การสากลที่พัฒนามาตรฐานสากลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือข่าย โดยมีการแบ่งโครงสร้างในการติดต่อสื่อสารออกเป็น 7 ชั้น (Layers) 2. CCITT (The Conseclitive Committee in International)เป็นองค์กรสากลที่พัฒนามาตรฐาน v และ x โดยที่มาตรฐาน v ใช้สำหรับวงจรโทรศัพท์และโมเด็ม เช่น v29,v34 ส่วนมาจรฐาน x ใช้กับเครือข่ายข้อมูลสาธารณะเช่น เครือข่าย x.25 แพ็กเกจสวิตช์ (Package switch) เป็นต้น3. ANSI (The American National Standards Institute)เป็นองค์กรมาตรฐานของสหรัฐเมริกา ANSI ได้พัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและ ระบบเครือข่ายมาตรฐานส่วนใหญ่จะ เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ตัวเลข ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลและมาตรฐานเทอร์มินัส4. IEE (The Institute of Electronic Engineers)เป็นมาตรฐานที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักวิชาการ และผู้ปกครองอาชีพทางสาขาไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริการ มาตรฐานจะเน้นไปทางด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ไมโครโปรเซสเซอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น IEE 802.3 ซึ่งใช้ระบบ LAN (Local Area Network)5. EIA (The Electronics Industries Association)เป็นองค์กรมาตรฐานของอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานทางด้านไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน EIA จะขึ้นต้นด้วย RS (Recommended Standard) เช่น Rs-232-c เป็นต้น
การผลิตของผู้ประกอบการต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้มาตรฐานใดก็ตาม สิ่งที่ผลิตนั้นอย่างน้อยจะต้องได้ครบตามมาตรฐาน แต่อาจจะดีเหนือกว่ามาตรฐานก็ได้ ลักษณะของสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณข้อมูลการส่งสัญญาณข้อมูล หรือข่าวสารต่าง ๆ สามารถทำได้ 2 ลักษณะดังนี้ 1. การส่งสัญญาณแบบอนาลอก(Analog Transmission)การส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะไม่คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในสัญญาณเลย โดยสัญญาณจะแทนข้อมูล อนาลอก เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น ซึ่งสัญญาณอนาลอกที่ส่งออกไปนั้นเมื่อระยะห่างออกไปสัญญาณก็จะอ่อนลงเรื่อย ๆ ทำให้สัญญาณไม่ค่อยดี ดังนั้นเมื่อระยะห่างไกลออกไปสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) แต่ก็มีผลทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ขึ้น ยิ่งระยะไกลมากขึ้นสัญญาณรบกวนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขสัญญาณรบกวนนี้ได้โดยใช้เครื่องกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกไป2. การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล(Digital Transmission)การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแน่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสนใจรายละเอียดทุกอย่างที่บรรจุมากับสัญญาณ ในทำนองเดียวกันกับการส่งสัญญาณแบบอนาลอก กล่าวคือ เมื่อระยะทางในการส่งมากขึ้น สัญญาณดิจิตอลก็จะจางลง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทำสัญญาณซ้ำ หรือรีพีตเตอร์(Repeater)ปัจจุบันการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาทสูงในการสื่อสารข้อมูล เนื่องจากให้ความถูกต้องชัดเจนของข้อมูลสูง และส่งได้ในระยะไกลด้วย สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายด้วย ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาณจากคอมพิวเตอร์อยู่ใน รูปของดิจิตอลนั่นเองแต่เดิมนั้นถ้าหากระยะทางใน การสื่อสารไกลมักจะใช้สัญญาณแบบอนาลอกเสียส่วนใหญ่ เช่น โทรศัพท์, โทรเลข เป็นต้น รหัสที่ใช้ส่งสัญญาณข้อมูล(Transmission Code)การส่งสัญญาณการสื่อสารถูกแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ แบบดิจิตอลและแบบอนาลอก ซึ่งการส่งสัญญาณแบบอนาลอกส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างมนุษย์ ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลนั้น ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันโดยใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการถ่ายทอดข้อมูลซึ่งกันและกันข้อมูลหรือข่าวสารโดยทั่วไปแล้วในเบื้องต้นส่วน ใหญ่จะอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ในทันที เช่น ตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพต่าง ๆ ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบอนาลอก แต่เมื่อต้องการนำข้อมูลหรือข่าวสารเหล่านี้มาใช้กับคอมพิวเตอร์ จะต้องเปลี่ยนข้อมูล หรือข่าวสารเหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้เสียก่อน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะรับรู้ข่าวสารที่เป็นแบบดิจิตอลเท่านั้น นั่นคือการเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนข่าวสารแบบอนาลอกให้เป็นข่าวสารแบบดิจิตอลนั่นเอง จากข้อความหรือข่าวสารต่าง ๆ ที่เรามองเห็นและเข้าใจได้ เมื่อเราป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยพิมพ์เข้าทางแป้นพิมพ์ ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปจะต้องมีการเข้ารหัสโดยผ่านตัวเข้ารหัส (Encoder) ให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งสัญญาณต่อไปได้เมื่อสัญญาณถูกส่งไปยังเครื่องรับ จากนั้นเครื่องรับก็จะตีความสัญญาณที่ส่งมาและผ่านตัวถอดรหัส (Decodes) ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบที่เราเข้าใจได้หรืออยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับเก็บในคอมพิวเตอร์ก็ได้อีกครั้งหนึ่ง
รูปแบบของรหัส รหัสที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของไบนารี (Binary) หรือเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 กับเลข 1 โดยใช้รหัสที่เป็นเลข 0 แทนการไม่มีสัญญาณไฟและเลข 1 แทนการมีสัญญาณไฟ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของไฟฟ้าที่มีลักษณะมีไฟและไม่มีไฟอยู่ตลอดเวลา เรียกรหัสที่ประกอบด้วย 0 กับ 1 ว่าบิต (Binary Digit) แต่เนื่องจากข้อมูลหรือข่าวสารทั่วไปประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์มากมาย ถ้าจะใช้ 0 กับ 1 เป็นรหัสแทนแล้วก็คงจะได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น เช่น 0 แทนตัว A และ 1 แทนด้วย Bดังนั้นการกำหนดรหัสจึงได้นำกลุ่มบิทมาใช้ เช่น 6 บิท, 7 บิท หรือ 8 บิทแทนตัวอักษร 1 ตัว ซึ่งจะสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด รหัสมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้กับอักขระภาษาอังกฤษซึ่งมีหลายมาตรฐาน เช่น รหัสโบดอต (Baudot code), รหัสเอบซีดิก (EBCDIC) และรหัสแอสกี (ASCll Code) รหัสแอสกี (ASCll CODE)รหัสแอสกี (ASCll CODE) มาจากคำเต็มว่า American Standard Code for Information Interchange ซึ่งเป็นรหัสมาตรฐานของอเมริกาที่ใช้สำหรับส่งข่าวสารมีขนาด 8 บิท โดยใช้ 7 บิทแรกเข้ารหัสแทนตัวอักษร ส่วนบิทที่ 8 จะเป็นบิทตรวจสอบ (Parity Bit Check) รหัสแอสกีได้รับมาตรฐานของ CCITT หมายเลข 5 เป็นรหัสที่ได้รับความนิยมในการสื่อสารข้อมูลอย่างกว้างขวาง เนื่องจากรหัสแอสกีใช้ 7 บิทแรกแทนตัวอักขระ แต่ละบิทจะประกอบด้วยตัวเลข 0 หรือเลข 1 ดังนั้นรหัสแอสกีจะมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 27 หรือเท่ากับ 128 ตัวอักขระนั่นเองในจำนวนนี้จะแบ่งเป็นตัวอักษรที่พิมพ์ได้ 96 อักขระ และเป็นตัวควบคุม (Control Characters) อีก 32 อักขระ ซึ่งใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์และการ ทำงานต่าง ๆ รหัสโบคอต (Baudot Code)รหัสโบคอตเป็นรหัสที่ใช้กับระบบโทรเลข และเทเล็กซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานของ CCITT หมายเลข 2 เป็นรหัสขนาด 5 บิท สามารถมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 25 หรือเท่ากับ 32 รูปแบบ ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนอักขระทั้งหมด จึงมีการเพิ่มอักขระพิเศษขึ้นอีก 2 ตัว คือ 11111 หรือ LS (Letter Shift Character) เพื่อเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์เล็ก (Lower case) และ 11011 หรือ FS(Figured Shift Character) สำหรับเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทำให้มีรหัสเพิ่มขึ้นอีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 ตัว จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว อีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 เดิม จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว เนื่องจากรหัสโบคอตมีขนาด 5 บิท ซึ่งไม่มีบิทตรวจสอบจึงไม่นิยมนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์
รหัสเอบซีดิก (EBCDIC)รหัส EBVFIC มาจากคำเต็มว่า Extended Binary Coded Deximal Interchange Code พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM มีขนาด 8 บิตต่อหนึ่งอักขระ โดยใช้บิตที่ 9 เป็น บิทตรวจสอบ ดังนั้นจึงสามารถมีรหัสที่แตกต่างสำหรับใช้แทนตัวอักษรได้ 28 หรือ 256 ตัวอักษร ปัจจุบันรหัสเอบซีดิกเป็นมาตรฐานในการเข้าตัวอักขระบนเครื่องคอมพิวเตอร์
รหัสแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล การเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารเพื่อสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอักจุดหนึ่งนั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม สำหรับรูปแบบของการเชื่อมต่อแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบดังต่อไปนี้ 1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point Line)เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่(Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์ (Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบวิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะดังรูปข้างต้น
2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด(Multipoint or Multidrop)เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากการส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุด ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้
การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัพเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัพเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัพเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่นส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูลโดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่าย และใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้
ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล
ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล
ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้
ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ
3. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร (Switched Network)
จากรูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นแบบจุดซึ่งต้องต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วการสื่อสารข้อมูลไม่ได้ผ่านตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีแนวความคิด ในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารหรือเครือข่ายสวิตซ์ซิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุดให้สามารถใช้สื่อสารได้มากที่สุด ลักษณะเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารสามารถแสดงได้ดังรูป
เครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารที่เห็นโดยทั่วไปมี 4 รูปแบบดังนี้
เครือข่ายสื่อสารโทรศัพท์ (The Telephone NetworK)
เครือข่ายสื่อสารเทลเล็กช์ (The Telex/TWX Network)
เครือข่ายสื่อสารแพคเกตสวิตซ์ซิ่ง(package Switching Network)
เครือข่ายสื่อสารสเปเซียลไลซ์ ดิจิตอล(Specialized Digital Network)
หลักการทำงานของเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารดังนี้
การเชื่อมต่อด้องเป็นแบบจุดต่อจุด
ต้องมีการเชื่อมต่อการสื่อสารกันทั้งฝ่ายรับและส่งก่อนจะเริ่มรับหรือส่งข้อมูล เช่น หมุนเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
หลังจากสื่อสารกันเสร็จเรียบร้อยจะต้องตัดการเชื่อมต่อ เพื่อให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ต่อไป สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือสายสื่อกลาง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ เช่น สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายเกลียวคู่ (Twisted-pair) สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) และสื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้นการเลือกสื่อกลางที่จะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระบบสื่อสารข้อมูลนั้น จำเป็นต้องพิจารณากันหลายประการ เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ใช้ การบริการ การควบคุม ตลอดจนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ซึ่งลื่อกลางแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)สายโคแอกเซียลเป็นสายที่นิยมใช้กันค่อนข้างมากในระบบการสื่อสารความถี่สูง เช่น สายอากาศของทีวี สายชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้มีค่าความต้านทาน 75 โอห์มและ 50 โอห์ม โดยสาย 75 โอห์ม ส่วนใหญ่ใช้กับสายอากาศทีวีและสาย 50 โอห์ม จะนำมาใช้กับการสื่อสารที่เป็นระบบดิจิตอลคุณสมบัติของสายโคแอกเซียลประกอบด้วยตัวนำสองสาย โดยมีสายหนึ่งเป็นแกนอยู่ตรงกลางและอีกเส้นเป็นตัวนำล้อมรอบอยู่อีกชั้น มีขนาดของสาย 0.4 ถึง 1 นิ้ว สายโคแอกเซียลมี 2 แบบ คือ แบบหนา (Thick) และแบบบาง (Thin) แบบหนาจะแข็ง การเดินสายทำได้ค่อนข้างยาก แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่าแบบบางสามารถ เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของสายสื่อสารกลางแบบโคแอกเชียลได้ดังต่อไปนี้
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair)สายคู่เกลียวเป็นสายมาตรฐานสองเส้นหุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียว สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ อนาลอกและแบบดิจิตอล สายชนิดนี้จะมีขนาด 0.015-0.056 นิ้ว ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิทต่อวินาที ถ้าใช้ส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะต้องใช้วงจรขยายหรือแอมพลิฟายเออร์ ทุก ๆ ระยะ 5-6 กม. แต่ถ้าต้องการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะต้องใช้อุปกรณ์ทำซ้ำสัญญาณ (Repeater) ทุก ๆ ระยะ 2-3 กม. โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่เกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี และมีน้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียว คือ สายโทรศัพท์ สำหรับสายคู่บิดเกลียวนั้นจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่จะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยทำจากแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้
สายส่งแบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic)เป็นการส่งสัญญาณด้วยใยแก้ว และส่งสัญญาณด้วยแสงมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสามารถส่งข้อมูล ได้ด้วยเร็วเท่ากับแสง ไม่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอก สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์
โมเด็ม (MODEM)MODEM มาจากคำเต็มว่า Modulator – DEModulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล ที่ได้รับจากเครื่องส่งหรือคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณแบบอนาลอกก่อนทำการส่งไปยังปลายทางต่อไป โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ และเมื่อส่งถึงปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอนาลอกให้เป็นดิจิตอล เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer)วิธีการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งปลายทางที่ง่ายที่สุดคือ การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point) แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้งานไม่เต็มที่ จึงมีวิธีการเชื่อมต่อที่ยุ่งยากขึ้น คือการเชื่อมต่อแบบหลายจุดซึ่งใช้สายสื่อสารเพียงเส้น 802.3
คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator)คอนเซนเตรเตอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเพิ่มสายหรือช่องทางการส่งข้อมูลได้มากขึ้น การส่งข้อมูลจะเป็นแบบอซิงโครนัส
คอนโทรลเลอร์(Controller)คอนโทรลเลอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่ส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส ที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ดี การทำงานจะต้องมีโปรโตคอลพิเศษสำหรับกำหนด วิธีการรับส่งข้อมูล มีบอร์ดวงจรไฟฟ้าและซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์
ฮับ (HUB)ฮับเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับมัลติเพล็กซ์เซอร์ ซึ่งนิยมใช้กับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มีราคาต่ำ ติดต่อสื่อสารข้อมูลตามมาตรฐาน IEEE 802.3
ฟรอนต์ – เอ็นโปรเซสเซอร์ FEP (Front-End Processor)FEP เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างโฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับสื่อสารข้อมูล เช่น โมเด็ม มัลติเล็กซ์เซอร์ เป็นต้น FEP เป็นอุปกรณ์ทีมีหน่วยความจำ (RAM) และซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการทำงานเป็นของตัวเองโดยมีหน้าที่หลักคือ ทำหน้าที่แก้ไขข่าวสาร เก็บข่าวสาร เปลี่ยนรหัสรวบรวมหรือกระจายอักขระ ควบคุมอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล จัดคิวเข้าออกของข้อมูล ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล
อิมูเลเตอร์ (Emulator)อิมูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกลุ่มข่าวสารจาก โปรโตคอลแบบหนึ่งไปเป็นกลุ่มข่าวสาร ซึ่งใช้โปรโตคอลอีกแบบหนึ่ง แต่จะเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ก็ได้ บางครั้งอาจจะเป็นทั้ง 2 อย่าง โดยทำให้คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ามานั้นดูเหมือนเป็นเครื่องเทอร์มินัลหนึ่งเครื่อง โฮสต์หรือมินิคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนิยมนำเครื่อง PC มาใช้เป็นเทอร์มินัลของเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะประหยัดกว่าและเมื่อไรที่ไม่ใช้ติดต่อกับมินิ หรือเมนแฟรมก็สามารถใช้เป็น PC ทั่วไปได้
เกตเวย์ (Gateway)เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่หลักคือ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่าซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถสื่อสารกันได้เสมือนกับเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายแต่ละเครือข่ายอาจจะแตกต่างกันในหลายกรณี เช่น ลักษณะการเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่ไม่เหมือนกัน โปรโตคอลที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลต่างกัน เป็นต้น
บริดจ์ (Bridge)เป็นอุปกรณ์ IWU (Inter Working Unit) ที่ใช้สำหรับเชื่อมเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะใช้โปรโตคอลที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้
เราเตอร์ (Router)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือข้ามเครือข่ายกัน โดยการเชื่อมกันระหว่างหลายเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยเครือข่ายแต่ละเครือข่ายจะเรียกว่า เครือข่ายย่อย (Subnetwork) ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้เชื่ออมต่อระหว่างเครือข่าย เรียกว่า IWU (Inter Working Unit) ได้แก่ เราเตอร์และบริดจ์
รีพีตเตอร์ (Repeater)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณซ้ำ เพื่อส่งสัญญาณต่อไปนี้ในระยะไกลป้องกันการขาดหายของสัญญาณ ซึ่งรูปแบบของเครือข่ายแต่ละแบบรวมทั้งสายสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางหรือสื่อกลาง แต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดของระยะทางในการส่ง ดังนั้นเมื่อต้องการส่งสัญญาณให้ไกลกว่าปกติต้องเชื่อมต่อกับรีพีตเตอร์ดังกล่าว เพื่อทำให้สามารถส่งสัญญาณ ได้ไกลยิ่งขึ้น
เครือข่าย (Networks)เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ความจำเป็นในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังนี้ 1) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้การทำงานมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 2) เครือข่ายช่วยให้หน่วยงานประหยัดงบประมาณโดยช่วยสนับสนุนการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ร่วมกัน เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล 3) เครือข่ายทำให้พนักงานหรือทีมงานของหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลกันสามารถใช้เอกสารร่วมกัน และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความเห็น ตลอดจนเสริมให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ 4) เครือข่ายช่วยสร้างให้การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับลูกค้าหรือองค์การภายนอกมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น ประเภทของเครือข่าย1) จำแนกตามพื้นที่• เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN)เป็นการติดต่ออุปกรณ์สื่อสารตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไประยะ 2,000 ฟุต (โดยปกติจะอยู่ในอาคารเดียวกัน) LAN จะช่วยให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถใช้ทรัพยากรของหน่วยงานร่วมกัน เช่น พรินต์เตอร์ โปรแกรม และไฟล์ข้อมูล ในกรณีที่ LAN ต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะภายนอก เช่น เครือข่ายโทรศัพท์หรือเครือข่ายของหน่วยงานอื่น จะต้องมี gateway ซึ่งทำหน้าที่เหมือนประตูติดต่อระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยช่วยแปลโปรโตคอลของเครือข่ายให้กับอีกโปรโตคอลหนึ่งเพื่อจะทำงานร่วมกันได้
• เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network-MAN)เครือข่ายเป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงขนาดใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน • เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN)เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณกว้างโดยครอบคลุมทั้งประเทศหรือทั้งทวีป WAN จะอาศัยสื่อโทรคมนาคมหลายประเภท เช่น เคเบิ้ล ดาวเทียม และไมโครเวฟ 2) แบ่งตามความเป็นเจ้าของ • เครือข่ายสาธารณะ (Public Network)เป็นเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้โดยทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ ดังนั้นผู้ใช้จะต้องแข่งกับผู้ใช้รายอื่น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีผู้ใช้จำนานมาก เช่น ระบบโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งผู้ใช้ไม่มีหลักประกันว่าสายจะว่างในช่วงนี้ต้องการหรือไม่
• เครือข่ายเอกชน (Private Network)เป็นเครือข่ายที่หน่วยงานสามารถเป็นเจ้าของเอง หรือ เช่าเพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร กรณีนี้ก็จะเป็นหลักประกันว่าหน่วยงานจะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายเมื่อต้องการเสมอ
• เครือข่ายแบบมูลค่าเพิ่ม (Value-added Network-VAN)เป็นเครือข่ายกึ่งสาธารณะซึ่งให้บริการเพิ่มขึ้นจากการติดต่อสื่อสารปกติผู้ให้บริการสื่อสาร (Communication service provider) เป็นเจ้าของ VAN อย่างไรก็ตาม VAN เร็วกว่าเครือข่ายสาธารณะและมีความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายสาธารณะ
• เครือข่ายเอกชนเสมือนจริง (Virtual Private Network-VPN)เป็นเครือข่ายสาธารณะที่รับประกันว่าผู้ใช้จะมีโอกาสใช้งานเครือข่ายได้ตลอดเวลา แต่ไม่ได้ให้สายหรือช่องทางการสื่อสารแก่หน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานเพื่อที่จะส่งไปพร้อม ๆ กับหน่วยงานอื่น ๆ Network Topologyคือการออกแบบและการติดต่อเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางกายภาพ โดยทั่วไปโทโปโลจีพื้นฐานมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้ 1) แบบดาว (Star Network)เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่นเชื่อมกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่ และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดในเครือข่าย เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้ 2) แบบบัส (Bus Network)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียว ซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้ สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2 ทางในเครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใดในระบบล้มเหลวจะไม่มีผล ต่อคอมพิวเตอร์อื่น อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ 1 ชุดเท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อมกัน โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน 3) แบบวงแหวน (Ring Network)คอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิด ทำให้การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีก ตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียว คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่ง ข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง นอกจากโทโปโลจีทั้ง 3 แบบที่กล่าวข้างต้น อาจจะพบโทโปโลจีแบบอื่นๆ เช่น แบบโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical Network) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree) หรือมีแบบผสม (Hybrid) อย่างไรก็ตามโทโปโลจีแต่ละประเภทจะมีข้อดีและ ข้อจำกัดแตกต่างกันผู้พัฒนาระบบจะต้องพิจารณาถึงความเร็ว ความเชื่อถือได้ และความสามารถของเครือข่ายในการทำงานหรือการแก้ไขข้อบกพร่องในกรณีที่อุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่ง ในระบบมีปัญหาตลอดจนลักษณะทางกายภาพ เช่น ระยะห่างของ node และต้นทุนของทั้งระบบ รูปแบบการประมวลผลแบบกระจายเครือข่าย (Organizational Distributed Processing)วิธีการประมวลผลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 3 รูปแบบ คือ 1.Terminal-to-Host Processing2. File Server Processing3. Client/Server


อ้างอิงจาก http://www.bcoms.net/temp/lesson6.asp

ความรู้เบื้องต้นของเทคโนโลยี





บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน ความหมายของข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้ ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content) ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness) ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance) ความถูกต้อง (accuracy) ความเชื่อถือได้ (reliability) การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format) ชัดเจน (clarity) ระดับรายละเอียด (level of detail) รูปแบบการนำเสนอ (presentation) สื่อการนำเสนอ (media) ความยืดหยุ่น (flexibility) ประหยัด (economy)
เวลา (Time) ความรวดเร็วและทันใช้ (timely) การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date) มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process) ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility) การมีส่วนร่วม (participation) การเชื่อมโยง (connectivity)
ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในหารวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ คน (People) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency) ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น
ประสิทธิผล (Effectiveness) ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้ ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่ ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)



อ้างอิงจาก http://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp






ใครสวยกว่ากันเอ่ย....

ใครสวยกว่ากันเอ่ย....

แอ๊บ...แบ๊ว...

แอ๊บ...แบ๊ว...

คิดถึงจัง...

คิดถึงจัง...

อ๊ะๆ...อย่าเบียดคนสวย

อ๊ะๆ...อย่าเบียดคนสวย