วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ในหลวงกับเทคโนโลยี




พระราชกรณียกิจด้านวิทยุกระจายเสียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยในเรื่องวิทยุเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เมื่อครั้งยังเยาว์ ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ พระองค์ได้ทรงซื้ออุปกรณ์เครื่องรับวิทยุ ซึ่งมีวางขายเลหลังราคาถูกทรงประกอบเป็นเครื่องรับวิทยุชนิดแร่ สามารถรับฟังวิทยุกระจายเสียงในยุโรปได้หลายแห่ง ต่อมาเมื่อกิจการวิทยุเจริญก้าวหน้ามากขึ้นได้นำหลอดวิทยุมาใช้ในเครื่องรับ-ส่งวิทยุ และเครื่องขยายเสียง และพระองค์ท่านก็ได้ทรงทดลองอุปกรณ์แบบใหม่นี้ด้วยเช่นกัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินกลับมา ประทับอยู่ในประเทศไทยเป็นการถาวร ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระองค์ได้ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. ขึ้นที่พระราชวังสวนดุสิต และชื่อสถานีวิทยุดังกล่าวได้ทรงนำมาจากอักษรย่อของพระที่นั่งอัมพรสถาน ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ออกอากาศครั้งแรก ต่อมาจึงย้ายสถานีวิทยุ อ.ส.เข้าไปตั้งในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
สถานีวิทยุ อ.ส. เมื่อแรกตั้งเป็นสถานีเล็กๆ มีเครื่องส่ง ๒ เครื่อง ขนาดที่มีกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ออกอากาศด้วยคลื่นสั้นและคลื่นยาวในระบบ AM พร้อมๆ กัน เครื่องส่งรุ่นแรกนี้เป็นเครื่องที่กรมประชาสัมพันธ์ทูลเกล้าฯ ถวายและติดตั้งให้ด้วยเมื่อออกอากาศไปได้ระยะหนึ่ง และในระบบคลื่นสั้นก็มีจดหมายรายงานผลการรับฟัง เข้ามาจากหลายประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา เยอรมันฯ เป็นต้น ดังนั้นจึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขยายกำลังส่ง โดยมีชื่อรหัสสถานีว่า HS 1 AS ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ สถานีวิทยุ อ.ส.ได้เพิ่มการส่งกระจายเสียงในระบบFMขึ้นอีกระบบหนึ่งในการขยายด้านกำลังส่งนั้นอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนแต่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อให้สถานีวิทยุ อ.ส. สามารถบริการประชาชนได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นอาจถือได้ว่าเป็นสถานีวิทยุเอกชนเพียงแห่งเดียวที่สามารถกระจายเสียงคลื่นสั้นได้ ทั้งนี้เพราะถือว่าเป็นเครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์ พระองค์ทรงมีวัตถุประสงค์ที่ทรงตั้งสถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อเปิดโอกาสให้พสกนิกรมีช่องทางในการติดต่อกับพระองค์ได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านกระบวนการขั้นตอนตามพิธีการเหมือนในสมัยก่อน ทรงใช้สถานีวิทยุเพื่อเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ติดต่อข่าวสารกับประชาชน และเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และประชาราษฎร์ ที่ทรงแสดงให้ทราบถึงใจรักที่พระองค์ท่านพระราชทานให้กับประชาชนทั่วทุกคน
นอกเหนือจากเป็นสถานีวิทยุของสื่อมวลชนเพื่อการบันเทิง และเผยแพร่ความรู้กับประชาชนแล้ว ยังได้ทำหน้าที่แจ้งข่าวสารแก่ประชาชนในโอกาสสำคัญ หรือเกิดเหตุการณ์ที่สำคัญต่างๆ ขึ้น เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ และเมื่อเกิดวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ โดยมีพระราชดำริให้ใช้สถานีวิทยุ อ.ส. เพื่อทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์กรรม จนเป็นบ่อเกิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ซึ่งปัจจุบันมีคุณขวัญแก้ว วัชโรทัย ทำหน้าที่นายสถานี เล่าให้ฟังว่า นโยบายหลักเกี่ยวกับการบริหารงานของสถานีตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานไว้ก็คือ การเปิดโอกาสให้คนที่มีความรู้ ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการหรือเอกชน ได้เข้ามาสนองพระมหากรุณาธิคุณให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้

ดังนั้นเจ้าหน้าที่ของสถานีจึงเป็นอาสาสมัครทั้งสิ้น และทรงรับภาระต่างๆ ด้านสถานีด้วยทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ พระองค์ทรงใช้นโยบายประหยัดและใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าที่สุดและในปัจจุบันนี้สถานีวิทยุ อ.ส. ยังคงกระจายเสียงเป็นประจำทุกวันเว้นวันจันทร์ โดยออกอากาศทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว ในระบบ AM 1332 KHzและ FM 104 MHz ควบคู่กันไปด้วยกำลังส่ง ๑๐ กิโลวัตต์ โดยออกอากาศวันอังคารถึงวันเสาร์ เวลา ๑๐.๓๐-๑๒.๐๐ และ ๑๖.๐๐-๑๙.๐๐ วันอาทิตย์ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ หยุดทุกวันจันทร์
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/kamana_3.htm

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4 (งานที่ 2)

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4 (งานที่ 2)
1. คำว่า Commiunis แปลว่า คล้ายคลึงกัน หรือร่วมกัน
2. การสื่อความหมาย หมายถึง เป็นพฤติกรรมสำคัญที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์เดียวกัน
3. Sender Message Channel Reciever
4. สาร หมายถึง เนื้อหา สาระ ความรู้สึก ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่ง หรือแหล่งกำเนิด
5. Elements หมายถึง องค์ประกอบย่อย ๆ พื้นฐานที่จำเป็นต้องมี
ตัวอย่าง เช่น สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ หรือสีแดง สีเหลือง เส้น เป็นต้น
6. Structure หมายถึง โครงสร้างที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบย่อย ๆ มารวมกัน
ตัวอย่าง เช่น คำ ประโยค หรือสีสันของรูปร่าง รูปทรง
7. Content หมายถึง เนื้อหาสาระ ข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด ความต้องการของผู้ส่ง
ตัวอย่าง เช่น การศึกษาที่เป็นประโยชน์กับการเรียน การสอน" ซึ่งได้แก่ เนื้อหาวิชาที่สอน บทเรียนที่น่าสนใจทุกระดับ (ประถม มัธยม อุดมศึกษา) วิธีการเรียนการสอนแบบใหม่ และเทคนิควิธีการสอนที่ทำให้นักเรียนเข้าใจง่าย
8. Treatment หมายถึง วิธีการ รูปแบบ ที่จะสามารถถ่ายทอดความต้องการของผู้ส่งไปยังผู้รับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
9. Code หมายถึง รหัส หรือสัญลักษณ์ ที่ถูกนำมาจัดแทนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ
ตัวอย่าง เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ดนตรี ภาพวาด กิริยาท่าทาง
10. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายนอก เช่น เสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฝนสาด ฯลฯ
11. อุปสรรคหรือสิ่งรบกวนภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ฯลฯ
12. Encode หมายถึง การเข้ารหัส
13. Decode หมายถึง การแก้รหัส
14. จงอธิบายการสื่อความหมายในการเรียนการสอนมาให้ครบถ้วนและถูกต้อง
การสื่อความหมาย เป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ส่ง” ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้รับ”
15. จงอธิบายถึงความล้มเหลวของการสื่อความหมายในการเรียนการสอน
การสื่อความหมายอาจล้มเหลวได้เนื่องจากอุปสรรคด้านต่าง ๆคือ
1. ผู้ส่งสารขาดความสามารถในการเข้ารหัส (Encode) หรือแปลความต้องการของตนเป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณต่าง ๆ ได้
2. ความบกพร่องของสื่อหรือช่องทาง การเลือกใช้สื่อและช่องทางที่ไม่เหมาะสม จะทำให้ประสิทธิภาพของการสื่อความหมายลดลงได้
3. อุปสรรค์จากสิ่งรบกวน (Noise) มี 2 ประเภท คือ
ก. สิ่งรบกวนจากภายนอก เช่นเสียงดังรบกวน อากาศร้อน กลิ่นไม่พึงประสงค์ แสงแดด ฯลฯ
ข. สิ่งรกวนจากภายใน เช่น ความเครียด อารมณ์ขุ่นมัว อาการเจ็บป่วย ความวิตกกังวล ฯลฯ

4. ผู้รับสารขาดความสามารถในการถอดรหัสสสาร อันเนื่องมาจากสาเหตุต่อไปนี้
ก. อุปสรรค์ด้านภาษา (Verbalism)
ข. ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
ค. ขีดจำกัดของประสามสัมผัส (Limited Perception)
ง. สภาพร่างกายไม่พร้อม (Physical Discomfort)
จ. การไม่ยอมรับ
ฉ. จินตภาพ (Image) ไม่ตรงกันกับผู้ส่งสาร
5. อุปสรรค์ด้านสาร ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างที่จะช่วยเสริมให้การสื่อความหมาย ประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น เช่น
ก. สารที่มีความเด่น แปลกใหม่
ข. ไม่สร้างความลำบากใจให้กับผู้รับ
ค. ให้แรงจูงใจ เช่น การให้รางวัล
ง. เป็นแกนร่วมประสบการณ์ของทั้งผู้ส่งและผู้รับ
จ. ตรงกับความต้องการของผู้รับ

คำถามท้ายบทที่ 1

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาหมายถึง การนำแนวคิด วิธีการ เทคนิค กระบวนการ ตลอดจนผลที่ได้จากวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
1) เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
2) เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
3) เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
4) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร(Communication Technology)
5) เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)
6) เทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Engineering Technology)
7) เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)
8) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)

3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตาม ทัศทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
- ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ(Media or Physical Science concept)
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ เห็นว่า การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
- ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral science concept)
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มารเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอน หรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการศึกษา 4 ขั้น คือ
1) การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัด และสังเกตเห็นได้
2) ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม และอื่นๆ เพื่อจัดหลักสูตร และโครงการสอนให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนแต่ละคน
3) วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและ เนื้อหาระสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4) การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร
4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 2 ระดับ

1) บุคคลธรรมดาสามัญ ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็น การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม (ราชบัณฑิตยสถานสถาน,2529:108)
2) บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ ความหมายว่า การศึกษาเป็น ศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวม ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ (Good.1959:191)
3) บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ 3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของ ส่วนรวมก่อน การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนาเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง การปฏิรูปตามศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนากับการศึกษาจึงมักรวมแนวทาง กันเสมอ - พลาโต (Plato) กล่าวว่า “การศึกษา” คือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลง นิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ภิญโญ สาธร. 2522: 13)
3.2 ทัศนะเสรีนิยม การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมเอาเองในอนาคต - ศาสตราจารย์สาโรจ บัวศรี ให้ความหมายการศึกษาว่า คือ ความเจริญงอกงามทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ (สาโรจ บัวศรี. 2526 : 16)
- พุทธทาสภิกขุ อธิบายการศึกษาว่า คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์ และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย (พุทธทาสภิกขุ. 2516 : 7)
- พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน (วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 5)
5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ - เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ
1. ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู (Teacher, Aid) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง

2. ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ใน สถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทาง ไปรษณีย์
3. ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษา ตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีผู้เรียนทั่วประเทศแต่ผู้เรียนอาจจะไม่เคยเห็นผู้สอนตัวจริง มีแต่ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ เทคโนโลยี ระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา ฯลฯ

6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
เทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด เทคนิควิธี กิจกรรม วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหา ในการทำงาน ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผลงานดีขึ้น หรือ เป็นที่พอใจมากขึ้น
7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
- ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)
- ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)
- ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)
8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมา อย่างน้อย 5 ข้อ
1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น
2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจ และความต้องการของ แต่ละบุคคล
3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง
4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น
5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่ม เป็นต้น
9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด
1. ศูนย์การเรียน ใช้ร่วมกับชุดการเรียนการสอน แบบเรียนสำเร็จรูป
2. การสอนแบบโปรแกรม
3. บทเรียนสำเร็จรูป
4. ชุดการเรียนการสอน
5. การเรียนการสอนระบบเปิด
10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
1. การเพิ่มจำนวนประชากร
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ
11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทย 3 ข้อ
1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง
2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม
3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย
12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย
3 ประการ

1. การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น
2. เรียนปนเล่น
3. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
5. การสอนเป็นคณะ

วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 1

1. จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
เทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาหมายถึง การนำแนวคิด วิธีการ เทคนิค กระบวนการ ตลอดจนผลที่ได้จากวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
2. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างน้อย 5 สาขา
1) เทคโนโลยีทางการทหาร (Military Technology)
2) เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
3) เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
4) เทคโนโลยีทางการสื่อสาร(Communication Technology)
5) เทคโนโลยีทางการค้า (Commercial Technology)
6) เทคโนโลยีทางวิศวกรรม (Engineering Technology)
7) เทคโนโลยีทางการตลาดสังคม (Social Marketing Technology)
8) เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
3. จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตาม ทัศทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
- ทัศนะทางสื่อหรือวิทยาศาสตร์กายภาพ(Media or Physical Science concept)
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่วัสดุ อุปกรณ์ หรือผลิตผลทางวิศวกรรม เป็นสำคัญแต่ไม่รวมวิธีการหรือปฏิสัมพันธ์อื่น ๆ เพราะ เห็นว่า การนำเอาเครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุมาช่วยในกระบวนการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายได้ง่ายขึ้น
- ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral science concept)
เทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะนี้มุ่งไปที่พฤติกรรมของมนุษย์เป็นสำคัญ โดยมองว่ามนุษย์มารเรียนรู้อย่างไร มีความแตกต่างระหว่างบุคคลอย่างไร จะจัดการเรียนการสอน หรือการศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมต่าง ๆ ได้อย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมกระบวนการศึกษา 4 ขั้น คือ
1) การตั้งจุดมุ่งหมายทางการศึกษาต้องเน้นพฤติกรรมที่จะวัด และสังเกตเห็นได้
2) ต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนในแง่ของความสำเร็จ ความพร้อม และอื่นๆ เพื่อจัดหลักสูตร และโครงการสอนให้เหมาะสมกับ ผู้เรียนแต่ละคน
3) วิธีการที่ครูใช้รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและ เนื้อหาระสบการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียน
4) การวัดและประเมินผลการเรียนและหลักสูตร
4. จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่าง ๆ อย่างน้อย 2 ระดับ
1) บุคคลธรรมดาสามัญ ความหมายตามพจนานุกรม อธิบายว่า การศึกษาเป็น การเล่าเรียนฝึกฝนและอบรม (ราชบัณฑิตยสถานสถาน,2529:108)2)
2)บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา ความหมายตามพจนานุกรมทางการศึกษาให้ ความหมายว่า การศึกษาเป็นศิลปะการถ่ายทอดความรู้จากอดีต ซึ่งจัดรวบรวม ไว้เป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบเพื่อให้บุคคลรุ่นหลังเข้าใจและนำไปปฏิบัติ (Good.1959:191)
3) บุคคลที่เป็นนักการศึกษา นักการศึกษามีทัศนะเกี่ยวกับการศึกษาแตกต่างกัน จำแนกได้เป็น 2 ทัศนะ คือ
3.1 ทัศนะแนวสังคมนิยม การศึกษาแนวสังคมนิยมให้ความสำคัญของ ส่วนรวมก่อน การศึกษา หมายถึง การปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนาเป็นการศึกษารูปแบบหนึ่ง การปฏิรูปตามศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับสังคม ศาสนากับการศึกษาจึงมักรวมแนวทางกันเสมอ- พลาโต (Plato) กล่าวว่า “การศึกษา” คือเครื่องมือที่ผู้ปกครองประเทศใช้ในการเปลี่ยนแปลงนิสัยมนุษย์ เพื่อก่อให้เกิดรัฐที่มีความสมานสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (ภิญโญ สาธร. 2522: 13)
3.2 ทัศนะเสรีนิยม การศึกษา คือ การมุ่งพัฒนาบุคคลแต่ละคนให้เจริญงอกงามเต็มที่ตามความสามารถที่เขามีอยู่แล้ว บุคคลที่ได้รับการศึกษานี้จะใช้ความสามารถของตนสร้างเสริมสังคมเอาเองในอนาคต
- ศาสตราจารย์สาโรจ บัวศรี ให้ความหมายการศึกษาว่า คือ ความเจริญงอกงามทางร่างกาย สติปัญญา สังคม และอารมณ์ (สาโรจ บัวศรี. 2526 : 16)- พุทธทาสภิกขุ อธิบายการศึกษาว่า คือ การทำลายสัญชาตญาณสัตว์ การศึกษาเพื่อยกจิตใจของมนุษย์ และเสนอว่า การศึกษาเป็นไปเพื่อธรรมาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย (พุทธทาสภิกขุ. 2516 : 7)
- พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 การให้การศึกษานั้นกล่าวโดยย่อได้แก่ การช่วยเหลือบุคคลให้ค้นพบวิธีดำเนินชีวิตในทางที่ชอบและเหมาะแก่อัตภาพของตน(วีระ บุณยะกาญจน. 2532 : 5)
5. เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ- เทคโนโลยีการศึกษามี 3 ระดับ
1) ระดับอุปกรณ์การสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู(Teacher, Aid) เป็นการเร้าความสนใจของนักเรียน ขยายความเข้าใจให้แจ่มแจ้ง
2) ระดับวิธีสอน เป็นการใช้เทคโนโลยีแทนการสอนของครูด้วยตนเอง โดยผู้สอนไม่จำเป็นจะต้องอยู่ใน สถานที่แห่งเดียวกับผู้เรียนเสมอไป เช่นการสอนทางไกลโดยใช้วิทยุ โทรทัศน์ หรือเอกสารทางไปรษณีย์
3) ระดับการจัดระบบการศึกษา เป็นการใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้าง สามารถจัดระบบการศึกษาตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก เช่น ระบบการสอนทางไกลของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชมีผู้เรียนทั่วประเทศแต่ผู้เรียนอาจจะไม่เคยเห็นผู้สอนตัวจริง มีแต่ผู้บรรยายทางโทรทัศน์ เทคโนโลยีระดับนี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น งานบริหารการศึกษา งานพัฒนาการศึกษา สื่อการศึกษา ฯลฯ6. จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจนเทคโนโลยี หมายถึง การนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ ๆ มาใช้หรือประยุกต์ใช้อย่างมีระบบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนวัตกรรม หมายถึง แนวคิด เทคนิควิธี กิจกรรม วัสดุ เครื่องมือ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้แก้ปัญหาในการทำงาน ช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยให้ผลงานดีขึ้น หรือ เป็นที่พอใจมากขึ้น 7. จงบอกถึงขั้นตอนในการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง- ขั้นการประดิษฐ์คิดค้น (Invention)- ขั้นการพัฒนาการ (Development) หรือขั้นการทดลอง (Pilot Project)- ขั้นการนำไปหรือปฏิบัติจริง (Innovation)8. จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ1. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น ได้เห็นหรือได้สัมผัสกับสิ่งที่เรียนและเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ และยังทำให้ผู้สอนมีเวลาแก่ผู้เรียนมากขึ้น2. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถ ตามความสนใจ และความต้องการของแต่ละบุคคล3. ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น มีการค้นคว้าวิจัย ทดลอง ค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ตามสภาพความเปลี่ยนแปลง4. มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน ให้มีคุณค่าและสะดวกต่อการใช้มากขึ้น5. ทำให้การเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เน้นด้านทัศนะหรือเจตคติและทักษะแก่ผู้เรียนด้วย เช่น การเรียนผ่านทางโทรทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ ชุดการสอน กระบวนการกลุ่ม เป็นต้น9. จงยกตัวอย่างนวัตกรรมทางการศึกษาในปัจจุบันมาอย่างน้อย 3 ชนิด1. ศูนย์การเรียน ใช้ร่วมกับชุดการเรียนการสอน แบบเรียนสำเร็จรูป2. การสอนแบบโปรแกรม3. บทเรียนสำเร็จรูป4. ชุดการเรียนการสอน5. การเรียนการสอนระบบเปิด10. จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ1. การเพิ่มจำนวนประชากร2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม3. ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่ ๆ11. จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทย 3 ข้อ1. คนไทยส่วนใหญ่ไม่นับถือตนเอง2. คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อม3. คนไทยส่วนใหญ่ขาดลักษณะที่พึงประสงค์ตามลักษณะสังคมไทย12. จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทย อย่างน้อย
3 ประการ1. การจัดโรงเรียนไม่แบ่งชั้น2. เรียนปนเล่น3. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน4. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน5. การสอนเป็นคณะ

ใครสวยกว่ากันเอ่ย....

ใครสวยกว่ากันเอ่ย....

แอ๊บ...แบ๊ว...

แอ๊บ...แบ๊ว...

คิดถึงจัง...

คิดถึงจัง...

อ๊ะๆ...อย่าเบียดคนสวย

อ๊ะๆ...อย่าเบียดคนสวย